1. คำว่าระบบ
และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบระบบ
เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน
เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ ส่วนวิธีการเชิงระบบคือวิธีการเชิงระบบ
( Systems
approach ) หมายถึง วิธีการทางความคิดที่เป็นรูปแบบ
ซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการมองปัญหาอย่างองค์รวม
ทั้งนี้รูปแบบของวิธีการหาความรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์
สังเคราะห์และวางรูปแบบการดำเนินการ
โดยต้องเกี่ยวพันกับรูปแบบปฎิบัติทั้งภายในและภายนอกโดยใช้ระบบเปิดเป็นพื้นฐานความคิด
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไรบ้าง
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ
( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ
( Feedback)
3.ระบบสารสนเทศ
หมายถึงอะไร
ตอบระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ
ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
4 .องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล4. บุคลากร5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
ด้านขั้นตอน และ สารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ-สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมายประกอบด้วย ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา
-ด้านขั้นตอน ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์
-สารสนเทศทั่วไป ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล สารสนเทศ โปรแกรมหรือซอฟแวร์
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1การวิเคราะห์ระบบขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระดับกลุ่ม ระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ
ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์กรระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล
ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผลระบบสารสนเทศระดับองค์กร
คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวม
ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
8.ข้อมูลความรู้
คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบข้อมูล (Data) หมายถึง
ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข
ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า
จำนวนนักเรียนในโรงเรียนส่วนความรู้
หมายถึง เนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็นความคิด ทฤษฎี
หลักการและรูปแบบ (หรือกรอบความคิดอื่น ๆ ) หรือข้อมูลอื่น ๆ ก็มีความจำเป็น เช่น
ความรู้ด้านเคมี ด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ทั้งสองนี้ช่วยให้
สารสนเทศมีความแม้นยำถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นหน้าเชื่อถือด้วย
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลควรประกอบด้วย1.1 การรวบรวมข้อมูล1.2 การตรวจสอบข้อมูล
2. การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้2.1
การจัดกลุ่มข้อมูล2.2 การจัดเรียงข้อมูล2.3 การสรุปผล2.4 การคำนวณข้อมูล
3. การดูแลรักษาข้อมูลประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้3.1
การเก็บรักษาข้อมูล3.2 การทำสำเนาข้อมูล3.3 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล3.4
การปรับปรุงข้อมูล
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบกลุ่มของคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร
อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น
ๆ
ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้
1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว
ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2) เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล
3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน
และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น
และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น